ดอยอ่างขาง ดอกซากุระเมืองไทย



ดอยอ่างขาง ดอกซากุระเมืองไทย แม่คะนิ้งที่โครงการหลวงอ่างขาง เที่ยวชม จุดชมวิว หน้าหนาวภาคเหนือ

ดอยอ่างขาง ดอกซากุระเมืองไทย
ดอยอ่างขาง ดอกซากุระเมืองไทย

– ลื้งค์เพื่อดูคลิป ทางขึ้นดอย!

————————–

– ลื้งค์เพื่อดูคลิป ทางลงดอย!

————————–

– ลื้งค์เพื่อดูคลิป เที่ยวดอย!

จุดชมวิวฤดูหนาว ภาคเหนือ ในช่วงหน้าหนาว นักท่องเที่ยวอยากจะมาสัมผัสอากาศหนาวในช่วงนี้อย่างมาก โดยเฉพาะบนดอยสูง ๆ อุณภูมิบางพื้นที่ 0 องศา บางพื้นที่เกือบติดลบ โดยเฉพาะ ปลายยอดดอย อย่าง ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ในช่วงหน้าหนาวนี้ เค้าหนาวสุด ๆ เลยนะครับ

แล้วนอกจากนี้ ยังมีที่ไหนอีกบ้างหล่ะ ที่น่าเที่ยว และมีวิวสวยๆ ในช่วงหน้าหนาวแบบนี้  วันนี้ BKKTH.COM เราอยากจะขอแนะนำ… ดอยอ่างขาง แหล่งชมวิว ดอกซากุระเมืองไทย ให้ทุกๆท่านได้รู้จักกันครับ

และที่แรกที่อยากแนะนำ คือ จุดชมวิว ดอยอ่างขาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ที่นี่มีจุดชมวิวที่สวยงามมากๆเลยล่ะครับ ^_^

—————————————————————

ดอยอ่างขาง

ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

สภาพอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่ประมาณ 600 ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน

ดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมายเช่น สถานนีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, s,หมู่บ้านขอบดัง และ หมู่บ้านนอแล
ดอยอ่างขาง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

3 thoughts on “ดอยอ่างขาง ดอกซากุระเมืองไทย”

  1. ดอยอ่างขาง

    ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างขาง อำเภอฝาง ห่างจากเขตแดนไทยพม่าเพียง 5 กิโลเมตร การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า

    อ่างขาง เป็นภาษาเหนือ หมายถึง อ่างสี่เหลี่ยม ซึ่งได้ชื่อมาจากลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร ทำให้อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

    สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่

    สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง

    พรรณไม้ที่ปลูก
    – ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ
    – ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
    – ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ

    ในพื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย

    ที่สถานีฯ ยังเป็นแหล่งเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า “ดอยคำ” และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ

    สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม

    หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว

    จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย

    หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า

    หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย

    หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่

    กิจกรรมท่องเที่ยวบนดอยอ่างขาง มีหลายอย่างที่สามารถทำได้เช่น เดินเท้าศึกษาธรรมชาติ ขี่ล่อล่องไพร เป็นต้น

    ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โทร. 0 5345 0107 – 9 หรือ http://www.angkhangstation.com

    แหล่งข้อมูล: thai.tourismthailand.org

  2. ท่องเที่ยว ดอยอ่างขาง
    น้องนุ่นผู้ประกาศข่าว ช่อง9 พาเที่ยวดอยอ่างข่างช่วงหน้าหนาว….

    ลิ้งค์
    http://www.youtube.com/watch?v=vYg3GmY_F7o

    ————————————————

    ดอยอ่างขาง ชมดอกไม้เมืองหนาว ลมหนาวมาแล้ว … ถึงเวลาออกไปโลดแล่นสัมผัสกับอากาศเย็น ๆ กันซะหน่อย ^^ และวันนี้กระปุกดอทคอมจะพานักเดินทางไปท้าทายความหนาวเย็นไกลถึง “เชียงใหม่” ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หรือที่หลายคนเรียกว่า ดอยอ่างขาง กัน

    สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง ตั้งอยู่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะ 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาว ที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน

  3. แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ
    เส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ มี 2 เส้นทาง คือ เส้นทางเดินชมกุหลาบพันปี อยู่ด้านนอก ห่างจากปากทางเข้าสถานีฯ ประมาณ 4.5 กิโลเมตร โดยจุดที่สูงที่สุดคือเนินพันเก้า ซึ่งมีความสูงถึง 1,928 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง นักท่องเที่ยวจะต้องเดินทางเท้าเพื่อขึ้นไปถึงจุดยอดเป็นระยะทาง 500-800 เมตร ซึ่งจะชมความงามของกุหลาบพันปีได้ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ส่วนในช่วงเดือนอื่นก็ยังจะมีพรรณไม้แปลกตาให้ได้ชื่นชมอีกเช่นกัน เส้นทางศึกษาธรรมชาติของสถานีเกษตรหลวงอ่างขางนั้นกำหนดขึ้นบริเวณรอบสถานีฯ มีเส้นทางทั้งหมด 10 เส้นทางด้วยกัน และต้นไม้ที่ปลูกในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาตินั้น จะเป็นต้นไม้ที่นำเข้ามาจากไต้หวันทั้งหมด

    เส้นทางขี่จักรยานชมธรรมชาติ เป็นเส้นทางจากรีสอร์ตธรรมชาติอ่างขางเข้าเยี่ยมชมด้านในสถานีฯ ตลอดทางก็จะได้ชมธรรมชาติและแปลงเกษตรทดลอง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเช่าจักรยานจากสโมสรอ่างขางได้ หรือหากอยากเปลี่ยนบรรยากาศขี่ล่อ สัตว์ลูกผสมระหว่างม้าและลา ซึ่งแต่เดิมเป็นสัตว์พาหนะสำคัญของชาวเขาบนดอยแถบนี้ ก็สามารถติดต่อได้ที่สโมสรอ่างขางเช่นกัน

    กิจกรรมดูนก ดอยอ่างขางเป็นสถานที่ที่มีนกมากมายกว่า 1,000 ชนิด บางชนิดเป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์หาดูได้ยาก จุดที่เหมาะสำหรับการดูนก คือ บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่เผอะบริเวณรอบรีสอร์ตธรรมชาติอ่างขาง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติด้านหลังสำนักงานของสถานีฯ

Leave a Reply